วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 10, 2024
Host Atom

ภาษีรถยนต์ หมายความรวมถึง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ คือการต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องต่อภาษี ทุกๆปีอย่าได้ขาด ภาษีรถยนต์นับเป็นภาระที่ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องรับผิดชอบ

ซึ่งภาษีที่เราจ่ายนี้ หน่วยงานรัฐจะนำไปใช้ในการสร้างถนนและปรับปรุงเส้นทางการเดินทางต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นเอง ดังนั้น เจ้าของรถยนต์ที่มีการใช้งานท้องถนนจึงมีหน้าที่ในการจ่ายภาษีรถยนต์ทุกคนและตามกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ด้วยว่ารถที่ขาดการเสียภาษีติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะถูกตัดออกจากบัญชีในทะเบียน ซึ่งหมายความว่าทะเบียนของรถยนต์คันนี้ไม่สามารถใช้งานได้อีกจะไม่สามารถซื้อขายได้ตามกฎหมายอีกต่อไป และหาก จะต่อใหม่ให้ถูกต้อง ต้องนำรถยนต์ไปยื่นขอจดทะเบียนใหม่ รวมทั้งคืนแผ่นป้ายเดิมเพื่อขอใหม่และจะต้องเสียภาษีย้อนหลังตามจำนวนปีที่ไม่ได้เสียภาษีอีกด้วย

การเสียภาษีรถยนต์สำหรับรถจดทะเบียนนานเกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกก่อน

เรามีวิธีการคำนวณภาษีรถยนต์อย่างไร?

ค่าภาษีรถยนต์แต่ละคัน หรือแต่ละรุ่น จะไม่เท่ากัน เพราะการจะคิดภาษีออกมาได้ว่ารถคันนี้ต้องจ่ายค่าภาษีเท่าไรนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ น้ำหนักรถ และแต่อายุการใช้งานของรถด้วย

การคำนวณภาษีรถยนต์นั้นมีวิธีการอย่างไร ภาษีรถยนต์ของเราต้องจ่ายเท่าไร?

1. กรณีรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งได้ไม่เกิน 7 คน(รย.1) หรือ ทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถ SUV รถประเภทนี้คิดภาษีตาม ซีซี ( cc ) โดยแบ่งการคิดราคาภาษีเป็นช่วง ซีซี แต่ละช่วง แล้วรวมกันดังนี้

1-600 ซีซีละ 0.50 สตางค์
601-1800 ซีซีละ 1.50 บาท
1801 ขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้ (นับจากปีที่จดทะเบียนครั้งแรก)
6 ปีลด 10%
7 ปีลด 20%
8 ปีลด 30%
9 ปีลด 40%
10 ปีลด 50%
ปีที่ 11 เป็นต้นไป ภาษีเท่ากับปีที่ 10

*ขนาดเครื่องยนต์ เราดูได้จากสมุดเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ คู่มือประจำรถยนต์

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์

รถยนต์ ยี่ห้อ Honda รุ่น Civic เครื่องยนต์ 1,800 cc อายุรถ 3 ปี

  1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
  2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1800 บาท
  3. รวมค่าภาษี 300 + 1800 = 2100 บาท

2.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รย.3) หรือรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว เช่น รถกระบะ 2 ประตู การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังตารางที่1

3.กรณีรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง(รย.2) หรือรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน เช่น รถตู้ การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังตารางที่1

ตารางที่ 1 แสดงค่าภาษีรถยนต์ จัดเก็บตามน้ำหนัก จากกรมการขนส่งทางบก

*น้ำหนักของรถยนต์ ดูได้จาก สมุดเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ คู่มือประจำรถยนต์

4.รถจักรยานยนต์ คิดภาษีคันละ 100 บาท

โปรแกรมคำนวณภาษีรถยนต์ออนไลน์ : โปรแกรมคำนวณภาษีรถยนต์

เมื่อเราทราบราคาค่าภาษีรถแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมในการต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้

  1. สมุดเล่มทะเบียน รถยนต์ หรือสำเนาทะเบียนรถยนต์
  2. พ.ร.บ. **
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ กรณีรถใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป ( 1-6 ปี ไม่ต้องใช้ )

เมื่อได้เอกสารครบแล้ว เราสามารถนำไปยื่นต่อภาษีที่ สำนักงานขนส่งได้เลย หรือปัจจุบันมีช่องทางยื่นต่อภาษีออนไลน์ จากผู้ให้บริการต่างได้เช่นกัน

** แน่นนอนว่า ก่อนที่จะทำการต่อภาษีรถยนต์ เราจำเป็นต้องทำ พ.ร.บ. ภาคบังคับ ก่อน

คำว่า “พ.ร.บ.” ต่อ พ.ร.บ. ที่เราพูดกันติดปาก จริงๆแล้วคืออะไร?
“พ.ร.บ.” คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันตาม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด

เอกสารสำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้แก่

  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้ครอบครองรถ (เจ้าของรถ /ผู้เช่าชื้อ )
  • สมุดเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือสำเนาเล่มทะเบียน
    เมื่อได้เอกสารครบแล้ว เราสามารถนำไปยื่นทำ พ.ร.บ. ตามสถานที่รับทำ พ.ร.บ. ต่างๆได้ตามสะดวก

พ.ร.บ. รถยนต์ ภาคบังคับ กับ ประกันภัยของรถยนต์ต่างๆ ( ชั้น1, ชั้น2 ..) เป็นคนละอย่างกัน เมื่อเราทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับแล้ว เราอยากทำประกันภัยอื่นๆเสริมด้วยก็ได้ตามต้องการ ไม่ได้มีผลต่อการต่อทะเบียนตามปกติ

อ้างอิง กรมการขนส่งทางบก

Tags: , , , , ,